ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

MIS บริษัทโตโยต้า จำกัด

สารสนเทศเพื่อการบริหาร บริษัทโตโยต้า

ข้อมูลทั่วไป

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น มีการขยายการลงทุนในต่างประเทศ เริ่มที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรก โดยจัดตั้งสำนักงานเป็นสาขาของบริษัทเพื่อจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2500 จากนั้นจึงก่อตั้งบริษัทโตโยต้าในอเมริกาและบราซิลตามมา ในช่วงแรกโตโยต้าประเทศไทย มีพนักงานไทย 70 คน และมีพนักงานญี่ปุ่นที่เข้ามาประจำ 7 คน หลังจากนั้นรัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุน จึงได้มีการจัดตั้งบริษัท โตโยต้า ประเทศไทย ซึ่งมีโรงงานผลิตรถยนต์ขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2505 โดยมีทุนจดทะเบียนในขณะนั้นประมาณ 11 ล้านบาท นับเป็นโรงงานแห่งที่ 2 ในต่างประเทศของโตโยต้าต่อจากบราซิล ที่ตั้งขึ้นด้วยเงินลงทุนของโตโยต้าเองทั้งหมด

เงินทุนของโตโยต้าประเทศไทยในปัจจุบันเท่ากั7,520 ล้านบาท มีพนักงานทั้งหมด 13,500 คน ผู้แทนจำหน่าย 119 ราย และโชว์รูม 312 แห่ง โดยมีกำลังการผลิต ดังนี้คือ

โรงงานโตโยต้า สำโรง 250,000 คัน/ปี

โรงงานโตโยต้า เกตเวย์ 200,000 คัน/ปี

โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์ 100,000 คัน/ปี

รวมกำลังการผลิต 550,000 คัน/ปี


รูปที่ 1-1 โรงงานโตโยต้า บ้านโพธิ์

บริษัทในเครือ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ประกอบด้วย

- TABT (Toyota Auto Body Thailand Co.,Ltd.)

- TLT (Toyota Leasing Thailand Co.,Ltd.)

- STM (Siam Toyota Manufacturing Co.,Ltd.)

- TTT (Toyota Transport Thailand Co.,Ltd.)

- TAW (Thai Auto Works Co.,Ltd.)

- TAT (Toyota Automotive Technical School) เป็นโรงเรียนระดับ ปวส. ที่จะรับผู้จบการ

ศึกษาระดับ ปวช. เพื่อให้มาศึกษาด้านเทคนิคการผลิตรถยนต์ เมื่อจบการศึกษาแล้ว ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรจากบริษัทฯ ทั้งในประเทศไทยและจากบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งจะได้รับประกาศนียบัตรตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการด้วย

- TBS (Toyota Body Service Co.,Ltd.)

- RRC (Rachamongkol Rice Co.,Ltd.) เป็นโรงสีข้าวอันสืบเนื่องจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีประสิทธิภาพการผลิตสูง สามารถผลิตรถยนต์โดยใช้เวลาห่างกันเพียงคันละ 1 นาที 10 วินาที และความภาคภูมิใจของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด คือ พนักงานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้มีส่วนร่วมกับบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นออกแบบรถยนต์ของบริษัท เนื่องจากเดิมบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะผลิตรถยนต์เท่านั้น ไม่ได้มีการออกแบบรถยนต์ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีสายงานเทคนิคที่รับผิดชอบการออกแบบรถยนต์ด้วย

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทยร้อยละ 42 ถือเป็นอับดับ 1 ของประเทศไทย เนื่องจากประสบความสำเร็จในการทำตลาดในเมืองไทย และถือเป็นอันดับ 3 ในเครือบริษัท TOYOTA ทั่วโลก ทั้งนี้ เครือบริษัท TOYOTA มีส่วนแบ่งการตลาดในระดับโลกเป็นอันดับ 2 รองจากบริษัท General Motor ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งความสำเร็จนี้มาจากการปรับปรุงภายในอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลัก Kaizen

การบริหารงานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

การบริหารของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ใช้ระบบ President คือ มีกรรมการ ผู้จัดการใหญ่เป็น CEO ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ชื่อนายเคียวอิจิ ทานะดะ โดยการบริหารงานภายในแบ่งเป็นสายงาน (Division) ต่าง ๆ ประกอบด้วย

- สำนักงานโครงการ

- ฝ่ายตรวจสอบภายใน

- สำนักงานส่งเสริมความพึงพอใจลูกค้า

- สายงานการบริหาร

- สายงานการตลาด ประกอบด้วย ด้านการตลาด ด้านการขาย และด้านบริการหลังการขาย

- สายงานเทคนิค เกี่ยวข้องกับการออกแบบรถยนต์

- สายงานการผลิต มี 3 โรงงาน คือโรงงานสำโรง โรงงานเกตเวย์ และโรงงานบ้านโพธิ์

วิสัยทัศน์

1. เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก

2. เป็นบริษัทรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด ในประเทศไทย

หลักการ

1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง

2. เคารพและยอมรับผู้อื่น

3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้า

4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด

5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ

1. สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเชียแปซิฟิก

2. บรรลุการเป็นผู้นำ ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด

3. กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัท

4. สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม

ตราสัญลักษณ์


รูปที่ 1-2 ตราสัญลักษณ์ของโตโยต้า


รูปที่ 1-3 ความหมายของตราสัญลักษณ์


ปรัชญา

ปรัชญาของบริษัทโตโยต้าประเทศไทยที่ประกาศตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ประกอบด้วย 4 ข้อ คือ

1. High Technology High Quality (เทคโนโลยีชั้นสูงและคุณภาพเป็นเลิศ)

2. Customer Satisfaction (ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า)

3. Thainization (การปรับการบริหารจัดการให้เป็นของไทย)

4. Social Contribution (กิจกรรมช่วยเหลือสังคม)

และได้เพิ่มอีก 1 ข้อในปี พ.ศ. 2537 รวมเป็น 5 ข้อคือ

5. Team work (การทำงานเป็นทีม)

การจัดองค์การ (Organizing)

วัฒนธรรมองค์การ

วัฒนธรรมองค์การ (Organizational Culture) หรือ วัฒนธรรมของบริษัท (Corporate Culture) คือ ระบบ (System) ของความเชื่อ (Beliefs) และค่านิยม (Values) ที่ถูกยึดถือร่วมกัน พัฒนาขึ้นและกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมองค์การก็คือสิ่งที่คอยเชื่อมโยงสมาชิกขององค์การแต่ละคนเข้าด้วยกัน วัฒนธรรมองค์การของ แต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างกันด้านการยอมรับความเสี่ยง แนวทางการปฏิบัติ พนักงาน การทำงานเป็นทีม กฎและระเบียบ ความขัดแย้ง การวิพากษ์วิจารณ์ และการให้รางวัล

การบริหารจัดการบริษัทภายใต้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันของบริษัทญี่ปุ่นเป็นการจัดการกับปัญหาต่างๆ เพื่อทำให้คนญี่ปุ่นและคนไทยอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันได้และจะเป็นการดีที่สุดหากมีความเข้าใจถึงวัฒนธรรมของอีกฝ่ายและสามารถทำงานร่วมกันจนประสบความสำเร็จแต่การคิดว่าเมื่อมีความเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างของอีกฝ่ายแล้ว จะสามารถบริหารจัดการงานในไทยได้อย่างเป็นที่น่าพอใจก็เป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไปในความเป็นจริง จะต้องทำความเข้าใจวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายโดยผ่านงานที่ทำ และเมื่อต้องเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้ได้อีกระดับหนึ่ง จึงจะเป็นการรู้จักวัฒนธรรมของอีกฝ่ายเป็นครั้งแรก และนั่นก็เท่ากับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริหารจัดการดังนั้น การบริหารจัดการบริษัทในวัฒนธรรมที่แตกต่างจึงไม่ใช่เพียงแค่ความเข้าใจในวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น

การแบ่งหน้าที่ให้คนไทยใช้อำนาจและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้บริหารตามนโยบายการปรับการบริหารจัดการให้เป็นของไทย ส่วนคนญี่ปุ่นจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและเป็น ผู้ประสานงาน โดยทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลจากญี่ปุ่น ถ้าการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างเรียบร้อยนั้นก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในสถานที่ปฏิบัติงานจริง พบว่าพนักงานไทยยังขาดความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของบริษัท คือ สถานที่จริงของจริง (Genchi Gembutsu) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) และการท้าทาย (Challenge) และยังไม่เข้าใจการควบคุม การผลิตพื้นฐาน เช่น วิธีการผลิตแบบโตโยต้า การผลิตแบบปรับเรียบให้มีงานเฉลี่ยเท่ากัน (Heijunka) การลดขั้นตอนการผลิต การควบคุมสถานที่ปฏิบัติงาน การสร้างคุณภาพที่ดี ฯลฯ


โครงสร้างองค์การ

องค์การ คือ ระบบของกลุ่มกิจกรรมที่มีการประสานงานระหว่างกันหรือการรวมกลุ่มของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป บริษัทโตโยต้า ประเทศไทย จำกัด จัดเป็นองค์การแบบหวังผลกำไร (For-profit) หรือองค์การธุรกิจ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างรายได้และผลกำไรจากการขายสินค้าและบริการ

แผนผังองค์การของบริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด

รูปที่ 3-1 แผนผังองค์การบริหารของโตโยต้าประเทศไทย

วัฒนธรรมองค์การของโตโยต้าส่งเสริมความรู้สึกการทำงานเป็นทีมให้กับพนักงานทุกคน โดยไม่ทำให้เกิดการแตกกลุ่ม โครงสร้างองค์การถูกออกแบบให้สนับสนุนการทำงานเป็นทีม เพื่อให้ร่วมมือกันแก้ปัญหา โตโยต้าต้องการโครงสร้างองค์การที่ทำให้

1. พนักงานทุกคนโดยเฉพาะผู้จัดการและหัวหน้างานมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างครบถ้วน

2. รวมพนักงานในฝ่าย แผนก และกลุ่มต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3. จัดกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะงาน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถพัฒนามาตรฐานและความเชี่ยวชาญให้เพิ่มมากขึ้น

4. ตัดสินใจได้ทันที กระจายข้อมูลได้อย่างสะดวก และ

5. บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ทั้งในระยะกลางและระยะยาว

โตโยต้ามุ่งหน้าไปสู่โครงสร้างองค์การที่แบนราบ แต่คงไว้ซึ่งจำนวนสมาชิกในกลุ่ม ที่เหมาะสมเพื่อให้ทำการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โตโยต้าต้องการให้สมาชิกที่ประสบปัญหาเป็นผู้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง โตโยต้าต้องการมีช่วงกว้างของการควบคุมที่ทำให้เกิดความไว้วางใจและการโค้ชได้อย่างเหมาะสม และทำให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โตโยต้าจึงได้ทำสิ่งต่อไปนี้

1. ใช้องค์การรูปแบบผสมผสาน (matrix)

2. กระจายการตัดสินใจออกไปด้วยการนำมาตรฐานมาใช้ และ

3. กำหนดบทบาทและหน้าที่ของหัวหน้าทีมอย่างชัดเจน


ฝ่ายขาย

มีหน้าที่ในการวิเคราะห์กระบวนการขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์ถึงความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท รวมถึงการบริการหลังการขาย ทั้งนี้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ซื้อในส่วนของสินค้านั้น ๆ ให้มากที่สุด เพื่อลูกค้าจะได้พิจารณาสินค้าและจะได้นำไปสู่การขาย

ฝ่ายบัญชี

มีหน้าตรวจสอบรายรับรายจ่ายต่าง ๆ ของบริษัท บันทึกบัญชีของสมุดรายวันชั้นต้นตรวจสอบ Statement จัดทำรายการทางการเงินประจำเดือน (งบทดลองและรายละเอียดลูกหนี้) คำนวณดอกเบี้ยและค่าปรับของลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวดของลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวดบัญชีลูกหนี้ ยืนยันการเป็นหนี้ จัดทำงบการเงินส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบและรับรอง

ฝ่ายคลังสินค้า

คือ สถานที่สำหรับวาง จัดเก็บ พัก กระจายสินค้าคงคลัง คลังสินค้ามีชื่อเรียกได้ต่างๆ กัน เช่น ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์จำหน่ายสินค้า และโกดัง เป็นต้น สินค้าเข้ามาทำการคัดแยก แล้วกระจายออกไป เรียกว่า ศูนย์กระจายสินค้า อันเป็นขั้นตอนที่ฝ่ายคลังสินค้าต้องใช้เวลาและกำลังคนมากที่สุดในการตรวจสอบ และจัดส่งสินค้า

ฝ่ายเทคนิค

ให้บริการ ซ่อมอะไหล่ยนตร์ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้งานการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการขนส่ง สามารถแก้ไขให้ได้ทันเวลาในการใช้งาน พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ปรึกษา ในด้านต่างๆอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องตรวจเช็คอย่างเป็นประจำหรือง่ายต่อการดูแลรักษาโดยไม่ต้องนำมาให้ช่างเทคนิคของทางบริษัทเป็นผู้ดูแล

ฝ่ายการตลาด

ฝ่ายการตลาดทำหน้าที่วิเคราะห์และวางแผนทางการตลาดโดยการวางแผนการตลาด สิ่งที่จะทำให้การวางแผนทางการตลาด ประสบความสำเร็จ นักการตลาดจะต้องมีข้อมูลสารสนเทศทางการตลาดที่ถูกต้องเพื่อนำมาใช้ในการตลาด ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้บริษัทเป็นที่ยอมรับของลูกค้า

ฝ่ายผลิต

ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละส่วนของรถยนต์ ที่จึงจำเป็น ต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถสูงเป็นจำนวนมาก รับข้อมูลความต้องการของลูกค้า ในแต่ละประเทศมาออกแบบ และปรับปรุงผลิตภัณฑ์ วิจัยชิ้นส่วนนั้นๆโดยจะมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทแม่มาเป็นผู้ดูแลและประสานงาน เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ต้องการ สามารถทำงานในหน้าที่ของชิ้นส่วนนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ มีค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อหน่วยที่เหมาะสม และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบริษัทโตโยต้า

ชื่อระบบ ระบบจัดการฝ่ายบุคคล

ระบบทำอะไรได้

ผู้สมัคร

- ยืนใบสมัคร (ออนไลน์, เอกสาร)

- สัมภาษณ์งาน

พนักงาน

- กรอกข้อมูลการทำงาน

- กรอกข้อมูล ลาป่วย, ลากิจ, ลาออกจากงาน

User

- สามารถ Login เข้าใช้ระบบเพื่อจัดการข้อมูลต่าง ๆ

- สามารถบันทึก เพิ่ม แก้ไข ลบ ข้อมูลต่าง ๆ ได้

- สามารถคำนวณรายได้ของพนักงานแต่ละคนได้

ฝ่ายบริหาร

- สามารถขอดูข้อมูลรายงาน การจ่ายเงินเดือน

- สามารถขอดูข้อมูลรายงาน การรับสมัครพนักงาน

- สามารถขอดูข้อมูลพนักงาน

- สามารถขอดูข้อมูลรายงาน สถิติการหยุดงานของพนักงาน

ER-Diagram : ระบบจัดการฝ่ายบุคคล


โครงสร้างฐานข้อมูล

ระบบจัดการฝ่ายบุคคล ได้มีการจัดการสร้างตารางเพื่อสร้างความสัมพันธ์กันของข้อมูล โดยมีตารางดังต่อไปนี้

ตาราง “TBEmployee” ใช้จัดเก็บข้อมูลพนักงาน มีโครงสร้างข้อมูลดังนี้


ตาราง TBRegistryใช้จัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้ระบบ มีโครงสร้างข้อมูลดังนี้



Context Diagram

DFD- Level 0 : ระบบจัดการฝ่ายบุคคล


DFD-Level 1:ระบบจัดการฝ่ายบุคคล

Process 1


DATA FLOW DIAGRAM LEVEL-1 : การสมัครงาน

Process 2

DATA FLOW DIAGRAM LEVEL-1 : การสัมภาษณ์งาน

Process 3

DATA FLOW DIAGRAM LEVEL-1 : การสัมภาษณ์งาน


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบริษัทโตโยต้า

ชื่อระบบ ระบบลูกค้าสัมพันธ์

ระบบทำอะไรได้

ลูกค้า

- ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิก

- จัดเก็บข้อมูลลูกค้าจากการสมัคร

- ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า

- ลูกค้าส่งรายการสั่งซื้อสินค้าให้พนักงาน

- ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านธนาคาร

- ลูกค้าส่งใบ Fax Payment เข้ามายังบริษัท

พนักงาน

- ออกใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า

- สำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า

- รับใบ Fax Payment จากลูกค้า

- ตรวจสอบใบ Payment

- พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน

- ส่งสำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้าไปยังคลังสินค้า

คลังสินค้า

- จัดของตามสำเนารายการสั่งซื้อสินค้า

- เรียกดูข้อมูลลูกค้า

- ออกใบส่งสินค้า

- จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

1. ER- Diagram







ER-Diagram


รูปภาพแสดง ER Diagram รวมของระบบ

ความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละคู่สามารถแสดงรายละเอียดได้ดังนี้

1. ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า (Customer) กับการสั่งซื้อสินค้า (Order) เป็นความสัมพันธ์แบบ one-to-many คือ -ลูกค้า 1 คน มีการสั่ง ซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 รายการ

-ใบสั่งซื้อ 1 ใบสามารถมีชื่อลูกค้าได้เพียง 1 คน


2. ความสัมพันธ์ระหว่าง order กับ payment เป็นความสัมพันธ์แบบ many – to – one

คือ - การสั่งซื้อ 1 ครั้งสามารถมีใบ payment ได้ 1 ใบ

- ใบ payment 1 ใบสามารถทำการสั่งซื้อได้มากกว่า 1 ครั้ง


3. ความสัมพันธ์ระหว่าง payment กับ employee เป็นความสัมพันธ์แบบ one – to – many

คือ -ใบ payment 1 ใบพนักงานสามารถเช็คได้ 1 คน

-พนักงาน 1 คนสามารถเช็คใบ payment ได้หลายใบ


4. ความสัมพันธ์ระหว่าง receipt กับ employee เป็นความสัมพันธ์แบบ many – to – one

คือ -พนักงาน 1 คนออกใบเสร็จรับเงินได้หลายใบ

-ใบเสร็จรับเงิน 1 ใบมีพนักงานออกใบเสร็จได้ 1 คน


1. 2.โครงสร้างฐานข้อมูล


Data Flow Diagram ระบบลูกค้าสัมพันธ์


รูปภาพแสดงแผนภาพกระแสข้อมูล (The Level-0 Data Flow (Context) Diagram)


แผนภาพกระแสข้อมูล (The Level-1 Data Flow Diagram)

รูปภาพแสดงแผนภาพกระแสข้อมูล (The Level-1 Data Flow Diagram)

แผนภาพนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการเข้าใช้ระบบซึ่งมีทั้งหมด 8 ขั้นตอนโดยเริ่มตั้งแต่การสมัครสมาชิกการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าไปจนถึงการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้า



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการบริษัทโตโยต้า

ชื่อระบบ ระบบจัดซื้อ

ระบบทำอะไรได้บ้าง

พนักงาน

- กรอกข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า

- ตรวจสอบสินค้าคงคลัง

User

- สามารถ Login เข้าใช้ระบบเพื่อจัดการข้อมูลต่างๆ

- สามารถ เพิ่ม แก้ไข ลบ ข้อมูลต่างๆ

ผู้บริหาร

- สามารถดูข้อมูลรายงานการสั่งซื้อ

- สามารถดูข้อมูลรายงานสินค้าคงคลัง


การกำหน Entity ทั้งหมดของระบบ

1. User_login หมายถึง ผู้ใช้ระบบ (พนักงาน)

2. Admin_login หมายถึง เจ้าหน้าที่ IT

3. TB_ employee หมายถึง ตารางข้อมูลพนักงาน

4. TB_vendor companies หมายถึง ตารางบริษัทผู้ขายสินค้า

5. TB_order_detail หมายถึง ตารางรายละเอียดของสินค้า

6. TB_store หมายถึง ตารางสินค้าคงคลัง


ER-Diagram





โครงสร้างฐานข้อมูล

ระบบจัดซื้อ ได้มีการจัดการสร้างตารางเพื่อสร้างความสัมพันธ์กันของข้อมูล โดยมีตารางดังต่อไปนี้








การปรับระบบเข้าหากัน

วิธีการปรับระบบเข้าหากัน

จากการศึกษาระบบก็พบว่ามี Table Employee ซ้ำกัน 3 Table คือ Table Employee ในระบบจัดซื้อ

Table Employee ในระบบลูกค้าสัมพันธ์ และ Table Employee ในระบบฝ่ายบุคคล

การปรับระบบเข้าหากันจึงใช้วิธีการปรับ Table ทั้ง 3 Table เป็น Table ที่มีความละเอียดและตรงตามการใช้งานของระบบ

โครงสร้างของ Table Employee ในแต่ละระบบ ประกอบด้วย Field ต่าง ๆ ดังนี้

เมื่อปรับโครงสร้างใหม่ทั้ง 3 Table

ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่

เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลพนักงานใหม่ ระบบจะต้องมีการอัพเดตข้อมูลไปยัง Table TBEmployee ของฝ่ายบุคคล , EMPLOYEE ของฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ , TB_Employee ของฝ่ายจัดซื้อ

Table Order


Table Order

เมื่อปรับโครงสร้างใหม่ทั้ง 2 Table

การจัดซื้อของฝ่ายจัดซื้อต้องอาศัยข้อมูลการสั่งซื้อจากฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โดยที่จะมีการใช้ข้อมูลร่วมกันจาก Table Order มายัง Table_Order_Detail โดยการปรับปรุงระบบให้สามารถทำงานร่วมกันจะให้การสร้างชุดคำสั่งเพื่อส่งข้อมูล ORDER จากฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ไปยังฝ่ายจัดซื้อ

แนวทางการต่อยอดหรือพัฒนาต่อในอนาคต

- เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานเพื่อหาข้อผิดพลาด หรือสิ่งที่ต้องเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมกับการทำงานของระบบในมากขึ้น

- ลดกระบวนการทำงานหรือส่วนที่ไม่จำเป็น เพี่อให้ระบบทำงานได้รวดเร็วขึ้น

- พัฒนาต่อยอดอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบใหม่อีกครั้ง

- Update ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่ตลาดเวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ต้องการ

- จัดเก็บข้อมูลทุกครั้ง เมื่อมีการปรับปรุงหรือพัฒนาระบบเพื่อลดการสูญหายของข้อมูล

- นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาระบบ

- พัฒนาและอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน